[POPBOT] [BlueStick] (POP-168) with BlueStick & Android

POPBOT รุ่นแรกนั้นมีพอร์ตอนุกรมเพียงพอร์ตเดียวออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับดาวน์โหลดข้อมูล ดังนั้นถ้าต้องการติดต่อกับอุปกรณ์ที่สื่อสารอนุกรมตัวอื่นๆ จึงต้องใช้ไลบรารี่เพิ่มเติม ในที่นี้ซอฟต์แวร์ Arduino ได้เตรียมไลบรารี่ไว้แล้ว ในชื่อ SoftwarewareSerial.h

การเชื่อมต่อทางด้านฮาร์ดแวร์ ในที่นี้จะเลือกใช้ขา 15 ต่อเข้ากับช่อง TxD  และใช้ขา 16 ต่อเข้ากับช่อง RxD ของโมดูล BlueStick ดังแสดงในรูป

545583_488909521166657_1418296403_n

โปรแกรม Arduino เวอร์ชัน 0022 สำหรับการใช้งานกับ POPBOT การการสื่อสารอนุกรมแนะนำให้ใช้กับซอฟต์แวร์ Arduino เวอร์ชั่นเก่าก่อน โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเวปไซต์ของ inex

563235_488909724499970_696576979_n

http://www.inex.co.th/store/programs/Arduino0022_POPBot_SetupR2.exe จากนั้นทำการติดตั้งโปรแกรมตามขั้นตอนดังนี้

13026_488909824499960_2012148019_n

ติดตั้งไว้คนละตำแหน่งกับ Arduino เวอร์ชั่นใหม่ที่มีอยู่ในเครื่อง โดยในที่นี้ตั้งชื่อโฟลเดอร์ว่า ArduinoOLD

539541_488909851166624_1625840243_n

และระบุตำแหน่งของ Start Menu ไว้ที่ ArduinoOLD เช่นกัน

480174_488909891166620_1868960870_n

รอจนกระทั่งติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์

69273_488909911166618_39120855_n

เปิดโปรแกรม Arduino โดยเข้าไปที่ Start Menu เลือกโฟลเดอร์ ArduinoOLD

559752_488909937833282_1588816388_n

จะพบหน้าต่าง Arduino เวอร์ชัน 0022

60736_488909967833279_1731912381_n

ให้ไปที่เมนู Tools >Board เลือกบอร์ดที่ใช้งานเป็นรุ่น POP-168

485240_488910001166609_2036839853_n

เขียนโปรแกรมตามตัวอย่าง

861277_488910041166605_1516651489_o

โดยโค้ดทั้งหมดมีดังนี้

 
#include <popbot.h>
#include <SoftwareSerial.h>
#define POW 80
unsigned char c;
SoftwareSerial Myserial(15, 16);
void forward(unsigned int time){
  motor(1,POW);
  motor(2,POW);
  sleep(time);
}
void backward(unsigned int time){
  motor(1,-POW);
  motor(2,-POW);
  sleep(time);
}
void turn_left(unsigned int time){
  motor(1,-POW);
  motor(2,POW);
  sleep(time);
}
void turn_right(unsigned int time){
  motor(1,POW);
  motor(2,-POW);
  sleep(time);
}
 
void setup(){
  Myserial.begin(9600);
}
void loop(){
  c=Myserial.read();
  if(c=='8')forward(10);
  else if(c=='2')backward(10);
  else if(c=='4')turn_left(10);
  else if(c=='6')turn_right(10);
  else ao();
}
 ทำการดาวน์โหลดโปรแกรมไปยังหุ่นยนต์เพื่อเตรียมพร้อมใช้งาน การติดตั้งซอฟต์ APP  BlueStick Control ที่โทรศัพท์ Android สำหรับที่โทรศัพท์มือถือ ใน Play สโตร์ ของ Android จะมี App ที่ชื่อ BlueStick Control สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งในสามาร์ทโฟนได้เลย โดยทำตามขั้นตอนตามรูป
 
861136_488912181166391_564021929_o
  เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้วเปิดหน้าต่างโปรแกรมขึ้นมา จะมีโลโก้ inex ปรากฏขึ้นดังรูป
 
64464_488912207833055_941146138_n
 
  จากนั้นจะมีตัวเลือกเพื่อเลือกว่าต้องการควบคุมแบบกดปุ่มที่หน้าจอ หรือจะใช้การเอียงหน้าจอเพื่อควบคุม (สามารถปรับแต่งค่าได้ในภายหลัง)
 
485238_488912231166386_2034079552_n
  ในตอนแรกแนะนำให้เลือกรูปแบบกดปุ่มที่หน้าจอก่อน จะได้หน้าจอดังรูป
 
537024_488912297833046_309423756_n
 
  ให้เปิดสวิตช์จ่ายไฟให้หุ่นยนต์ POPBOT เพื่อให้โมดูล BlueStick ทำงาน จากนั้นกดปุ่ม Pair ที่ Android เพื่อให้ Android ค้นหาโมดูล BlueStick
 
563126_488912357833040_1360821362_n
 
  จะปรากฏหน้าต่างแสดงอุปกรณ์บลูทูธขึ้นมา ให้กด Scan For Device เพื่อหาอุปกรณ์ใหม่ นั่นก็คือโมดูล BLueStick นั่นเอง เมื่อเจอชื่อ BlueStick ให้กดเลือก และใส่รหัส 1234 ลงไป ใช้เวลาสักครู่การจับคู่ก็จะเสร็จสิ้น โดยสังเกตที่โมดูล BlueStick LED สีแดงจะติดค้าง เมื่อกดปุ่มต่าง ๆ ที่หน้าจอจะเป็นการส่งข้อมูลไปยังโมดูล BlueStick ที่ POPBOT หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา ตามการกดปุ่ม
Facebook Comments Box